วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

MaterialSlot


       คนที่เพิ่งหัดใช้ 3DSMax ใหม่ๆอาจจะเข้าใจว่าเราสามารถกำหนด Material ให้กับวัตถุในซีนนั้นๆได้เพียงแค่ 24 อันเพียงเท่านั้น   เพราะเท่าที่เห็นก็มีช่องให้ใส่แค่ 24 ช่องเองนี่นา   แต่ความจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลย

       มาทำความเข้าใจกับหน้าต่าง Material Editor กันดีกว่า   ปกติแล้วในหน้าต่างนี้ จะมี Slot ของ Material อยู่ทั้งหมด 24 ช่อง  6แถว * 4 แถว      (ตอนเปิดโปรแกรมครั้งแรกจะโชว์แค่ 3 แถว * 2 แถว  สามารถเปลี่ยนได้โดยการกด X  โปรแกรมจะเปลี่ยนไปโชว์เป็น 5 แถว * 3 แถว   และ  6 แถว * 4 แถว ตามลำดับ)
        ขั้นแรก กด M ทีนึงเพื่อเปิดหน้าต่าง Material Editor ขึ้นมาตามรูป



          ปุ่มต่างๆคืออะไร ไปหาอ่านกันเองในหนังสือ 3DSMax ทั่วไปได้   ดังนั้นจะไม่อธิบายเกี่ยวกับปุ่มทุกปุ่มนะ
ภาพด้านล่างนี้เป็นวิธีเปลี่ยนการแสดงผลของหน้าต่าง Material Editor ให้แสดง 6 แถว * 4 แถว



------------------------------------------------------------------------------------
            มาเข้าเรื่องกันดีกว่านะ   สมมุติว่าเรากำหนด Material จนเต็มทุกช่องเลย 24 ช่อง  แล้วก็ใส่ Material ให้กับวัตถุในซีนจนครบ 24 ชนิดเลย      
            คำถามคือ   ถ้าเกิดมีวัตถุที่ต้องการใช้ Material ชนิดที่ 25 ขึ้นมาละ  จะทำอย่างไร   ?
          
            หลายคนอาจจะเปลี่ยนไปใช้ Multi-Sub Material  แล้วไปกำหนด Material ID ในระดับ Poly แทน  แต่นั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ค่อยจะตรงจุดเท่าไหร่นัก     มาถึงคำเฉลยกันเลยดีกว่านะ
          
               คำตอบก็คือ    ในความจริงแล้ว  เราสามารถกำหนด Material ได้ไม่จำกัด   ใช่แล้ว  อ่านไม่ผิดหรอก  ไม่จำกัดจริงๆ    แต่เราจะต้องทำความเข้าใจกับระบบของโปรแกรมกันก่อน     มาทำความเข้าใจกัน
             
               สมมุติว่า  หน้าต่าง Material Editor ที่มีจำนวน 6 * 4 เนิ่ย เป็นโต๊ะตัวนึง    แล้วก็มีกล่องไว้สำหรับเก็บของกล่องนึง เป็นกล่อง 4 มิติ  เก็บของได้ไม่อั้น



                  วิธีสร้าง Material ใหม่ก็ให้กดที่ปุ่ม Get Material ตามรูปด้านล่าง



            จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เลือก Material หลากหลายชนิดเลย  ลองสร้าง Material แบบ Standard ขึ้นมาใหม่อันนึง  ตามรูป



          ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ Standard เลย  วัสดุใหม่ก็จะมาโผล่ในช่องที่เลือกไว้ตอนแรก  (ในที่นี้คือช่องแรกสุดช่องที่ 1 )      กระบวนการในตอนนี้ถ้าจะอธิบายเป็นภาพก็คือ  Material อันเดิมในช่องแรก  โดนโยนใส่ลงไปในกล่อง   แล้วมีวัสดุอันใหม่มาแทนที่



              สังเกตได้จากชื่อของ Material ก็ได้  จะเห็นว่า Material เบอร์ 25 ได้ถูกสร้างขึ้นมาแทนที่ Material เบอร์ 1 แล้ว   ส่วนเบอร์ 1 ไม่ได้หายไปไหนหรอก   แต่มันไม่ได้โชว์อยู่ในหน้าต่าง Material Editor (โต๊ะ)  เท่านั้นเอง



            เราสามารถสร้าง Material ได้ไม่จำกัดจำนวน (จนกว่าเครื่องจะพัง)   ถ้าสร้าง Material เยอะๆ  ก็จะต้องมี Material เก็บอยู่ในกล่องเยอะแยะ
  

  ------------------------------------------------------------------------------------------
            คำถามต่อมาคือ   แล้วถ้าเกิดว่าเราจะเอา Material ในกล่องออกมาแก้ไขละ    จะทำได้อย่างไร   ?
            วิธีการก็คือ  กดที่ปุ่ม Get Material เหมือนที่บอกไป   แต่คราวนี้ให้เปลี่ยนจาก New ไปติ๊กที่ Scene แทน  โปรแกรมจะแสดง Material ที่มีการใช้อยู่ในฉากทั้งหมด



         ให้ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ Material ตัวที่ต้องการ   (ให้ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ส่วนหัวบนสุดของ Material  ในภาพคือตัวที่มีลูกบอลสีน้ำเงินอยู่  ในกรณีที่ Material มีส่วนประกอบอยู่เยอะ   Material นั้นอาจจะยาวเป็นหางว่าวเลย)   Material ตัวที่ดับเบิ้ลคลิ๊ก จะไปโผล่บน Slot ของหน้าต่าง Material Editor ทันที    (ในกรณีที่มี Material อยู่ในช่องนั้น  มันจะถูกเอาไปเก็บไว้ในกล่องแทน)



                อธิบายมาถึงตอนนี้ ก็คิดว่าน่าจะพอเข้าใจระบบของมันแล้วละนะ   ลองฝึกใช้เพิ่มเติมก็น่าจะเข้าใจได้แล้วละ
-------------------------------------------------------------------------------------------------
               แถมท้าย :  ถ้ามีการเลือกโมเดลในฉากอยู่     เมื่อกดปุ่่ม Get Material แล้วไปเลือกที่ Selected  โปรแกรมจะโชว์เฉพาะ Material ของโมเดลที่เราเลือกอยู่



             พอกดปุ่ม Get Material แล้วเลือกที่ Selected   โปรแกรมจะโชว์เฉพาะ Material ของโมเดลที่เลือกไว้ทำให้สะดวกต่อการนำ Material มาแสดงบนหน้าต่าง Material Editor



             ตามรูปจะเห็นว่า   โปรแกรมจะโชว์เฉพาะ Material ของโมเดลที่เลือกเท่านั้น   เราก็ดับเบิ้ลคลิ๊กเพื่อนำ Material ไปไว้บนโต๊ะได้เลย

1 ความคิดเห็น: