วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

InstanceMaterial

 

ที่ตั้งชื่อหัวข้อแบบนี้เพราะไม่รู้ว่าจะตั้งยังไงที่มันจะดีกว่านี้
                ปกติแล้วใน 3DSMax มีการคัดลอกวัตถุอยู่สามแบบคือ
                           -  Copy  วัตถุที่ถูกเพิ่มมาไม่เกี่ยวข้องใดๆกับตัวต้นแบบ
                           -  Instance  วัตถุต้นแบบและวัตถุที่เพิ่มมามีความเกี่ยวข้องกัน  กล่าวคือ  เมื่อตัวใดตัวหนึ่งถูกแก้ไข  ตัวที่เหลือก็ถูกแก้ไขให้เหมือนกับตัวที่โดนแก้ไขด้วย
                           - Reference  เมื่อทำการคัดลอกแบบนี้   เมื่อวัตถุต้นแบบมีการเปลี่ยนแปลง วัตถุที่ถูกคัดลอกออกไปจะมีการเปลี่ยนแปลงตาม  (คล้ายๆ Instance )     แต่วัตถุลูกเมื่อมีการเพิ่มคำสั่ง Modifier เข้าไป วัตถุตัวต้นแบบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย

                        
     Modifier ของตัวต้นแบบ                        Modifier  ของตัวที่ถูกคัดลอกแบบ Reference
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
               เกริ่นถึงความหมายของแต่ละตัวไปละ  ทีนี้มาเข้าเรื่องกันดีกว่า  เกี่ยวกับ Instance Material  แปลเป็นไทยก็คือการ คัดลอก  Material  แบบ Instance  นั่นเอง      
                คำถามสำหรับมือใหม่ก็คือ  ทำไมจะต้องทำแบบนั้นด้วยละ ?
                คำตอบ  ประโยชน์สำหรับการคัดลอก Material แบบนี้นั้นมีหลายข้อมาก  เช่น
                         1. ในบางส่วนที่สามารถใส่ Material ได้ แต่เราไม่สามารถเข้าไปแก้ไขที่ตัวมันได้  ยกตัวอย่าง  Environment  ซึ่งอยู่ที่   Render >  Environment    เปิดขึ้นมาแล้วก็จะเจอหน้าต่างแบบในรูป



 จะได้หน้าต่างนี้



              ในช่อง Environment  นี้  คือบรรยากาศ หรือแบ็คกรานด์ที่จะโชว์ด้านหลังเวลาที่ Render   จากในภาพจะเห็นว่า  ในช่อง Environment Map ไม่มีอะไรใส่อยู่เลย   แล้วก็ไม่ได้ติ๊กถูกที่ช่อง Use Map ด้วย
 ดังนั้นโปรแกรมจะใช้ค่าสี  ทางด้านซ้ายเวลา Render ซึ่งเป็นสีดำ  ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้นของ 3DSMax  เราสามารถเปลี่ยนสีพื้นหลังได้จากตรงนี้
               มาพูดถึงกรณีที่ว่า  เรานำอะไรซักอย่างใส่เข้าไปในช่อง Environment  เช่น  ใส่ Gradient  เข้าไป



             โปรแกรมจะยกเลิกการใช้ค่าสีในช่อง Color  โดยเปลี่ยนมาใช้ค่า Gradient แทน   เสร็จแล้วก็ลอง Render ออกมาดูกัน 


         จะเห็นว่า พื้นหลังถูกเปลี่ยนเป็น Gradient แล้ว  โดยที่ค่าเริ่มต้นของ Gradient จะเป็นสีดำ แล้วไล่ไปหาขาว ดังรูป 
         ทีนี้  ถ้าเราอยากจะเปลี่ยนสีละ  จะทำยังไง  เพราะถ้ากดที่ปุ่ม Environment Map  มันก็ทำได้แค่เลือกว่าจะใส่อะไรเข้าไปเท่านั้นเอง 

        คำตอบก็คือ  ใช้การคัดลอกแบบ Instance นี่แหละ  วิธีการก็คือให้กด M  เพื่อเปิดหน้าต่าง  Material  Editor ขึ้นมา    แล้วก็ลาก  Gradient  จาก Environment Map ไปใส่ใน Slot ซักอันนึง  ตามรูป


โปรแกรมจะถามว่า  ต้องการคัดลอกแบบไหน   ให้เลือก Instance และกด OK ไป


      Gradient  จะถูกคัดลอกแบบ Instance มาที่ Slot ของ Material Editor


ทดลองเปลี่ยนสีดู  ให้เป็นโทนสีฟ้า

 

ปรับมุมมอง  ลองใส่ Plane เข้าไปดูสักแผ่น   แล้วก็ลอง Render ดู
 
-------------------------------------------------------------------------------------------
       TIP  :  ปกติแล้ว  พื้นหลังจะไม่โชว์ให้เห็นนอกจากเวลา Render  แต่เราสามารถเปิดให้มันแสดงผลใน Viewport ที่เราทำงานอยู่ได้โดยการ     เลือกที่ View >  Viewport Background  >  Viewport Background   หรือกดคีย์ลัด   ALT + B 



จะมีหน้าต่างขึ้นมา


           ให้ติ๊กเครื่องหมายถูกในช่อง Use Environment Background  และ Display Background  แล้วกดปุ่ม OK   จะเกิดการเปลี่ยนแปลงคือ  ในหน้าต่าง Viewport  ที่เราใช้งานอยู่  จะมี Environment Background แสดงผลขึ้นมา  


            เมื่อเราเปลี่ยนค่า Gradient  การแสดงผลใน Viewport ก็จะเปลี่ยนไปด้วยแบบ Realtime  เลย   ทำให้ง่ายต่อการปรับค่าอย่างมาก  

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น